รายงานตัวชี้วัด "ประเภทการใช้ที่ดิน (2551-2561)"
ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน
หมายเหตุ: เนื่องจากข้อมูลประเภทการใช้ที่ดินจะเป็นข้อมูลที่จัดเก็บและวิเคราะห์ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแสดงผลกราฟบนเว็บไซต์สามารถแสดง พ.ศ. ที่เป็นแกนนอนได้เพียง 1 ปี จึงขอขยายความหมายของปีที่ปรากฏในแกนนอนของกราฟ ดังนี้ 2552 = 2551-2552, 2556 = 2553-2556, 2559 = 2558-2559 และ 2561 = 2560-2561
เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดย่อย
ตัวชี้วัดย่อย | หน่วยนับ | ก่อนหน้า | ล่าสุด | ค่าความต่าง |
---|---|---|---|---|
พื้นที่แหล่งน้ำ (SOE64) | ล้านไร่ | 9 2559 | 9 2561 | 0.12 |
พื้นที่ป่าไม้ (SOE64) | ล้านไร่ | 106 2559 | 105 2561 | -1.19 |
พื้นที่เกษตรกรรม (SOE64) | ล้านไร่ | 178 2559 | 179 2561 | 1.11 |
พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (SOE64) | ล้านไร่ | 18 2559 | 19 2561 | 0.82 |
1. ตัวเลขห้อย หมายถึง ปีพ.ศ. ของข้อมูลตัวเลขในตัวชี้วัดนั้นๆ
2. การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ คำนวณได้จาก = ((ข้อมูลปัจจุบัน - ข้อมูลปีก่อนหน้า) x 100) / ข้อมูลปีก่อนหน้า
จากข้อมูลการใช้ที่ดินในช่วง พ.ศ. 2560-2561 พบว่า ส่วนใหญ่มีการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากที่สุด มีเนื้อที่ 178.74 ล้านไร่ รองลงมาคือ พื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ 104.66 ล้านไร่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีเนื้อที่ 18.74 ล้านไร่ พื้นที่แหล่งน้ำ มีเนื้อที่ 9.37 ล้านไร่ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 9.19 ล้านไร่ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการใช้ที่ดินในช่วง พ.ศ. 2560-2561 กับช่วง พ.ศ. 2558-2559 พบว่า ประเภทการใช้ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง รองลงมาคือ พื้นที่แหล่งน้ำ[1] และพื้นที่เกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 4.60 1.37 และ 0.62 ตามลำดับ ส่วนประเภทการใช้ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ลดลง ได้แก่ พื้นที่เบ็ดเตล็ด[2] และพื้นที่ป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ 8.64 และ 1.12 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา พบว่า พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด จะเห็นได้ว่าพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่แหล่งน้ำ พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่ป่าไม้มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นต้องใช้พื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยและเป็นพื้นที่ทำกิน จากการศึกษาพบว่า ราคาผลผลิต รวมถึงนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน นอกเหนือจากปัจจัยทางกายภาพต่างๆ เช่น ชนิดดิน ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ หรือความลาดชันของพื้นที่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2564)
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่อดีตจนถึง พ.ศ. 2564 หลายหน่วยงานยังขาดการบูรณาการฐานข้อมูลทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินของประเทศเข้าด้วยกัน ทำให้ข้อมูลพื้นฐานในการคำนวณและประเมินสถานการณ์ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากข้อมูลที่แต่ละหน่วยงานจัดเก็บแตกต่างกัน อาทิ ฐานข้อมูลผังเมือง ฐานข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ประเภทต่างๆ และฐานข้อมูลพื้นที่เกษตรกรรม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2564)
[1] พื้นที่แหล่งน้ำ หมายถึง บริเวณที่เป็นพื้นน้ำ ได้แก่ หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ ชะวากทะเล บ่อขุดต่างๆ ที่เต็มไปด้วยน้ำ และอาจรวมถึงพื้นที่ของแม่น้ำ ลำห้วย และคลองด้วย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2564)
[2] พื้นที่เบ็ดเตล็ด หมายถึง พื้นที่ที่มีส่วนของดินน้อย และมีพืชพรรณขึ้นเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีพืชพรรณเลย อาจจะเนื่องมาจากดินถูกกร่อนอย่างรุนแรง สภาพดินไม่เหมาะสม หรือเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมของมนุษย์ได้แก่ สนามบิน พื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หาด สุสาน สันทราย ผาชัน ที่ดินร่องลึก บ่อ ที่ดิน
(กรมพัฒนาที่ดิน, 2564)
รายการตัวชี้วัดหลัก
-
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ
-
มูลค่าและอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (2554-2563)
-
รายได้ ค่าใช้จ่าย และภาวะหนี้สินของครัวเรือน (2550-2562)
-
จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยว (2554-2563)
-
มูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน (2554-2563)
-
มูลค่าการนำเข้า-ส่งออก และดุลการค้า (2554-2563)
-
สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ของรายจ่าย (2553-2562)
-
สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ของรายได้ (2553-2562)
-
สถานการณ์ด้านสังคม
-
จำนวนและอัตราการขยายตัวของประชากร (2553-2563)
-
จำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงาน (2554-2563)
-
จำนวนผู้ย้ายถิ่นและอัตราการย้ายถิ่น (2554-2563)
-
จำนวนประชากร จำแนกวัยเด็ก วัยแรงงาน และวัยสูงอายุ (2554-2563)
-
ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน
-
จำนวนเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ (2560-2563)
-
ปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมี (2552-2563)
-
สถานภาพทรัพยากรดิน พ.ศ. 2561
-
ปริมาณการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร (2552-2563)
-
พื้นที่การสูญเสียดินในประเทศไทย พ.ศ. 2563
-
พื้นที่เกษตรที่เสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้ง (2553-2563)
-
ประเภทการใช้ที่ดิน (2551-2561)
-
ทรัพยากรแร่
-
จำนวนการร้องเรียนจากปัญหาผลกระทบการทำเหมืองแร่ (2558-2563)
-
ปริมาณการผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออกแร่ (2558-2563)
-
จำนวนประทานบัตรแร่ (2559-2564)
-
มูลค่าการผลิต การใช้ การนำเข้า และการส่งออกแร่ (2554-2563)
-
พลังงาน
-
ความยืดหยุ่นของการใช้พลังงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (2554-2563)
-
ค่าความเข้มข้นของการใช้พลังงาน (2552-2563)
-
ปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียน (2551-2563)
-
ปริมาณการใช้พลังงานทดแทน (2551-2563)
-
ปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (2554-2563)
-
ปริมาณการนำเข้า (สุทธิ) พลังงานขั้นต้น (2554-2563)
-
สัดส่วนผลิตพลังงานขั้นต้น (2554-2563)
-
ปริมาณการผลิตพลังงานขั้นต้น (2554-2563)
-
ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
-
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (2551-2563)
-
พื้นที่ป่าไม้ (2549-2563)
-
พื้นที่ป่าชุมชน (2562-2563)
-
จุดความร้อนสะสม (2560-2564)
-
จำนวนสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าในคดีค้าสัตว์ป่า (2554-2563)
-
คดีและจำนวนผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่า (2554-2563)
-
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ (2556-2563)
-
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ที่ถูกบุกรุก (2552-2563)
-
จำนวนคดีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์ (2554-2563)
-
จำนวนครั้งในการดับไฟป่าของกรมป่าไม้ (2560-2564)
-
พื้นที่ถูกไฟไหม้ของกรมป่าไม้ (2560-2564)
-
ทรัพยากรน้ำ
-
ความเสียหายจากภัยแล้ง (2554-2563)
-
ความเสียหายจากอุทกภัย (2554-2563)
-
การจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง (2561-2564)
-
การจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝน (2561-2564)
-
ความต้องการใช้น้ำ (2560-2563)
-
ปริมาณน้ำบาดาลที่กักเก็บ (2561-2563)
-
ปริมาณน้ำบาดาลที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย (2561-2563)
-
ปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างขนาดกลางและใหญ่ (2552-2564)
-
ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปี (2558-2563)
-
การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ พ.ศ. 2563 (Integrated Water Resource Management; IWRM)
-
ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปี (2556-2563)
-
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
-
สัตว์ทะเลหายากเกยตื้น (2555-2563)
-
พื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง (2560-2562)
-
พื้นที่แนวปะการัง (2555-2563)
-
พื้นที่แหล่งหญ้าทะเล (2561-2563)
-
พื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพ (2539-2563)
-
ปริมาณสัตว์น้ำเค็ม (2554-2563)
-
ปริมาณการจับสัตว์น้ำต่อหน่วยลงแรงประมง (2551-2563)
-
ความหลากหลายทางชีวภาพ
-
ชนิดพันธุ์สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ถูกคุกคาม (2559-2563)
-
ชนิดพันธุ์พืชในประเทศไทยที่ถูกคุกคาม (2558-2564)
-
คุณภาพอากาศ
-
ปริมาณก๊าซโอโซน (O3) (2553-2563)
-
ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) (2553-2563)
-
ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) (2554-2563)
-
คุณภาพเสียง
-
ระดับเสียง (2554-2563)
-
คุณภาพน้ำ
-
คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง (2552-2563)
-
คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (2552-2563)
-
ขยะมูลฝอย
-
จำนวนสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนที่เปิดดำเนินการถูกต้อง (2559-2563)
-
จำนวนสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชน (2560-2563)
-
ขยะมูลฝอย (2553-2563)
-
ของเสียอันตราย
-
มูลฝอยติดเชื้อ
-
สารอันตราย
-
ปริมาณการนำเข้าสารอันตรายภาคอุตสาหกรรม (2554-2563)
-
สิ่งแวดล้อมชุมชน
-
จำนวนชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร (2555-2563)
-
จำนวนและสัดส่วนประชากรในเขตเมือง (2553-2563)
-
การร้องเรียนมลพิษ อุบัติภัย และเหตุฉุกเฉินจากสารเคมี
-
การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
-
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
-
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
-
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
-
ภัยพิบัติและผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
-
ระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
-
การบริหารจัดการกองทุนสิ่งแวดล้อม